10 ประโยชน์สำคัญของน้ำมันงาดำที่มีต่อสุขภาพ
ประโยชน์ของงาดำ สรรพคุณมากล้ำ รักษาโรคอะไรได้บ้าง
งาดำ ถือเป็นซุปเปอร์ฟู้ดส์มีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง จึงทำให้เราได้เห็นว่าในปัจจุบันมีการนำงาดำมาสกัดเป็นอาหารเสริมบำรุงสุขภาพมากมาย โดยประโยชน์ของงาดำ มีดังนี้
1. บรรเทาอาการปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์
สำหรับคนที่มีปัญหาข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานงาดำสามารถลดอาการปวดได้ เพราะแร่ธาตุทองแดงที่อยู่ในงาดำมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ทำให้อาการปวดลดลง นอกจากนี้แร่ธาตุทองแดงยังมีส่วนช่วยสร้างคอลลาเจน ซึ่งคอลลาเจนนั้นสำคัญต่อการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ข้อต่อ กระดูกอ่อน และหลอดเลือดให้แข็งแรง
2. บำรุงผิวพรรณและกระดูก
งาดำอุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมที่อยู่ในงาดำนั้นมีมากกว่านมถึง 6 เท่า นอกจากนี้ก็ยังมีสังกะสีที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เพิ่มมวลกระดูก จึงเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ขณะที่วิตามินอีที่อยู่ในงาดำก็ยังมีส่วนสำคัญในการบำรุงผิวพรรณให้นุ่มชุ่มชื้น หากรับประทานเป็นประจำรับรองได้เลยว่ากระดูกแข็งแรง ผิวพรรณดี ห่างไกลจากริ้วรอยแห่งวัย ดูเด็กลงได้อีกหลายปีเลย
3. ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
สารเซซามิน สารเซซาโมลิน และ เซซามินอล เป็นไฟเบอร์ในกลุ่มลิกแนน (Lignans) ที่มีคุณสมบัติในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารที่อยู่มากในงาดำ นอกจากนี้ในงาดำก็ยังอุดมด้วยสารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับคอเลสเตอรอล แต่ไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพ ซึ่งการรับประทานงาดำเข้าไปก็จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้
4. บำรุงหัวใจ
เพราะงาดำสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ จึงทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น เพราะเมื่อร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลที่ลดลง ก็จะส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจสะอาดขึ้น ระบบไหลเวียนเลือดก็ดีขึ้น ลดความเสี่ยงได้ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคความดันโลหิตสูง
5. ป้องกันโรคมะเร็ง
สารต้านอนุมูลอิสระที่อัดแน่นเต็มเมล็ดงาดำ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้งาดำกลายเป็นอาหารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สารเซซามินที่มีอยู่ในงาดำก็ยังช่วยป้องกันอนุมูลอิสระไปทำลายตับ และเมื่อตับสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ก็จะไม่มีสารพิษสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรคมะเร็งนั่นเอง
6. บรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
งาดำอุดมไปด้วยวิตามินบี แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ที่ช่วยลดอาการ PMS ได้เป็นอย่างดี บอกลาอาการต่างๆ ก่อนมีประจำเดือนไปได้เลย ซึ่งอาการก่อนมีประจำเดือนถือเป็นปัญหาของหลายๆ คน เพราะทำให้อารมณ์แปรปรวน หรือเกิดอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว นอนไม่หลับ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แต่ถ้าอยากจะลดอาการเหล่านี้แนะนำให้รับประทานน้ำมันงาดำเป็นประจำ
7. แก้ผมร่วง บำรุงเส้นผม
งาดำเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไขมันที่ดี ไม่ว่าจะเป็นไขมันโอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งล้วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม อีกทั้งช่วยบำรุงให้หนังศีรษะและเส้นผมชุ่มชื้นมีสุขภาพดี ยิ่งถ้าหากใช้น้ำมันงาดำมานวดศีรษะเป็นประจำด้วยละก็ จะยิ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณศีรษะทำให้เส้นผมได้รับแร่ธาตุและวิตามินมากขึ้น ไม่หลุดร่วงและยังดกดำเงางามขึ้นค่ะ
8. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
แคลเซียมและแมกนีเซียมที่อยู่ในงาดำ มีส่วนสำคัญที่ช่วยบรรเทาความเครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ทริปโตเฟน (tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีในงาดำก็ยังเข้าไปช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ ทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
9. บำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology พบว่า การรับประทานสารสกัดจากงาดำสามารถช่วยป้องกัน และชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยในการศึกษาได้ให้อาสาสมัครที่อยู่ในกลุ่มสูงวัยรับประทานสารสกัดจากงาดำแบบแคปซูลปริมาณ 500 มิลลิกรัม ทุกวันติดต่อกัน 9 สัปดาห์ พบว่าหลังจาก 9 สัปดาห์ผ่านไป อาสาสมัครเหล่านี้มีพัฒนาการในด้านความจำและการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
10. บำรุงสายตา
ในการแพทย์แผนจีนเชื่อว่าดวงตานั้นสัมพันธ์กับตับ ดังนั้นหากตับมีปัญหาก็จะทำให้ดวงตาอ่อนล้า ตาแห้ง และมองเห็นไม่ชัดได้ จึงทำให้มีการนำงาดำมาใช้ในแพทย์แผนจีนเพื่อบำรุงสายตาและตับไปพร้อมๆ กัน เมื่อตับมีสุขภาพดี ดวงตาก็จะชุ่มชื้นและใสปิ๊ง หมดปัญหาสุขภาพตาไปได้เลย
คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ทุกช่องทาง
กระดูกเก็บแร่ธาตุหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือแคลเซียมและฟอสฟอรัส แร่ธาตุเหล่านี้ทำให้กระดูกแข็งแรง รวมถึงแร่ธาตุอื่นๆ ที่พบในกระดูก ได้แก่ แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และคาร์บอเนต
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มีความผิดปกติของกระดูก โดยเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะเพิ่มขึ้น
โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ และเป็นภัยเงียบ เนื่องจากไม่มีอาการอะไร มีเพียงแต่เนื้อกระดูกบางลง ความหนาแน่นน้อยลง ทั้งนี้กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็เมื่อเกิดกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได ตกจากเก้าอี้ ซึ่งหากเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เพศหญิง เชื้อชาติเป็นคนเอเชีย วัยทอง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือรับประทานแร่ธาตุแคลเซียม วิตามินดี ไม่เพียงพอก็มีแนวโน้มที่กระดูกจะเปราะแตกหักง่ายจนนำไปสู่โรคที่พวกเรารู้จักกันดีคือ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากถึงร้อยละ 30-40 ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาสร้อยละ 13 โดยผู้หญิงช่วงอายุ 10 ปีแรกหลังจากหมดระดู กระดูกจะบางลงเร็วมาก อธิบายได้ว่าเกิดจากการที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจน นอกจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว ยังเกิดจากความเสื่อมตามวัยซึ่งพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
อาการไหนที่บ่งบอกว่าเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน ได้ชื่อว่าเป็น ภัยเงียบ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีอาการ กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหักเสียแล้ว แต่อาจมีอาการที่พบได้ ได้แก่
- ปวดหลัง
- กระดูกทรุดตัวทำให้ตัวเตี้ยลง หลังโกง หรือหลังค่อม
- มีอาการร้าวหรือหักของกระดูกได้ง่าย
สาเหตุของโรคกระดุกพรุน
เมื่อคนเรามีอายุประมาณ 35 ปีขึ้นไป โครงสร้างของกระดูกจะเปลี่ยนไปโดยมีความหนาแน่นของกระดูกลดลง และเมื่อมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยก็อาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้ ได้แก่
- การสะสมแคลเซียมในร่างกายในช่วงชีวิตที่ผ่านมาไม่เพียงพอ
- โครงสร้างกระดูกที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก
- การติดเชื้อบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อต่อมพาราไธรอยด์ ทำให้เกิดการลดลงของแคลเซียม และทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น
- อายุที่มากขึ้น เซลล์ต่างๆจึงเสื่อมลงรวมทั้งเซลล์สร้างกระดูก การสร้างกระดูกจึงลดลง แต่เซลล์ทำลายกระดูกยังทำงานได้ตามปกติหรืออาจทำงานมากขึ้น
- ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ : ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ดังนั้น โรคกระดูกพรุนจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงและโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนถาวร
- ภาวะขาดอาหารสำหรับการสร้างกระดูก : อาหารสำคัญของการสร้างกระดูกคือ โปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี ซึ่งผู้สูงอายุมักขาดอาหารทั้งสามชนิดนี้ การขาดอาหารจะลดการสร้างมวลกระดูกและกระตุ้นให้เซลล์ทำลายกระดูกทำงานสูงขึ้น
- ขาดการออกำลังกาย: การเคลื่อนไหวออกกำลังกายจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ตรงกันข้าม เมื่อขาดการออกกำลังกาย เซลล์ทำลายกระดูกจะทำงานเพิ่มขึ้น
- โรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ : เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) หรือโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน - สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงเพราะมีการหมดประจำเดือน (หมดฮอร์โมนเพศ)
- ขาดการออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดสารอาหาร
- มีโรคเรื้อรังต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
แคลเซียมสำคัญต่อกระดูกอย่างไร?
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย ร้อยละ 99 ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน และอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดและของเหลวในร่างกาย แคลเซียมมีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การหดตัวของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบประสาท และการแข็งตัวของเลือด ในวัยเด็กร่างกายมีความต้องการแคลเซียมมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงสะสมแคลเซียมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกระดูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับอนาคต การขาดแคลเซียมในวัยเจริญเติบโตจึงอาจทำให้กระดูกไม่แข็งแรง หรือกระดูกผิดปกติ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น
ร่างกายควรรับแคลเซียมในปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน?
รู้หรือไม่ว่าคนไทยจำนวนมากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ นั่นคือในผู้ที่มีอายุ 15-59 ปี ได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียงร้อยละ 30 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ส่วนในผู้สูงอายุได้รับเพียงประมาณร้อยละ 21 เท่านั้น
แหล่งแคลเซียมหลักจากอาหาร คือ นมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่คนไทยจำนวนมากไม่นิยมบริโภคนม ไม่ค่อยได้รับ ประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย และนิยมรับประทานอาหารจานด่วน หรือควบคุมน้ำหนักด้วยการอด อาหาร เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่ออายุมากขึ้น กรดในกระเพาะอาหารและการ สังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดผ่านทางผิวหนังก็ลดลง ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยกว่าวัยอื่นๆ
การขาดแคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน มักแสดงออกในผู้สูงอายุ ทั้งนี้เนื่องจากกระดูกของคนเราจะมีการสร้างและสะสมแคลเซียมจนมี ความหนาแน่นสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นอัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าการสร้างความหนาแน่นของกระดูก จึงลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสตรีหลังหมดประจำเดือน จากการสำรวจในผู้หญิงไทยอายุต่ำกว่า 50 ปี จะมีความชุกของโรค กระดูกพรุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 และหลังอายุ 55 ปี ความชุกจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงมากกว่าร้อยละ 50 เมื่ออายุ 70 ปี แต่คนในวัยอื่นๆ บางกลุ่มก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังน้อยได้เช่นกัน เช่น
- ผู้หญิงที่ตัดรังไข่
- ผู้ที่สูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์จัด
- ผู้ที่โครงร่างบอบบางน้ำหนักตัวน้อย
- ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
- ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
- ผู้ที่บริโภคแคลเซียมน้อยเกินไปในวัยเจริญเติบโตและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุน
Magicus Sesamina Col น้ำมันงาดำสกัดเย็นบริสุทธิ์ (60 Softgel)
คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อสั่งซื้อสินค้าได้ทุกช่องทาง
">